Tip:
Highlight text to annotate it
X
-
ลองทำโจทย์ Calculus BC ปี 2008
อัตนัยกันต่อดีกว่า
เราอยู่ที่ข้อ 2 แล้ว
แล้วผมตัดและวางตารางที่เขาให้มาในโจทย์มา
ผมจะอ่านโจทย์ที่เหลือให้ฟัง
ลองดูว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง
เขาบอกว่า ตัวคอนเสิร์ตเริ่มขายตอนเที่ยง, t เท่ากับ 0,
และขายหมดภายใน 9 ชั่วโมง
จำนวนคนที่รอเข้าแถวซื้อตั๋วที่
เวลา t, จำลองขึ้นโดยฟังก์ชัน
ที่หนาอนุพันธ์ได้สองครั้งคือ L, L ของ t
นี่คือจำนวนคนที่รอในแถวที่เวลาใดๆ
และนี่คือตอนเที่ยง 12:00, 1:00 นาฬิกา, 9:00 นาฬิกา
ตั๋วขายหมดตอน 9.00 นาฬิกา
แล้วเขาบอกเราว่ามันหาอนุพันธ์ได้สองครั้ง
นั่นหมายความว่าไม่ว่าฟังก์ชันที่เราจำลองขึ้นมาคืออะไร,
L ของ t นี่, มันจะต่อเนื่องเพราะ
มันหาอนุพันธ์ได้
และเนื่องจากมันหาอนุพันธ์ได้สองครั้ง, เราจึงรู้
อีกว่าอนุพันธ์ของมันก็ต่อเนื่องด้วย เพราะ
อนุพันธ์อันดับสองมีอยู่สำหรับทุกจุด
แล้วเขาบอกว่า ข้อ a -- ขอผมตรวจหน่อยว่าผมไม่ได้เขียน
หนาไป -- ใช้ข้อมูลจากตารางเพื่อประมาณอัตรา --
ขอผมลองแล้ววางนี่ลงไปแล้วกัน, ผมเพิ่ง
หาวิธีทำได้
ผมเพิ่งรู้ว่ามันไม่แย่นัก
-
ได้แล้ว
คุณอาจอ่านมันไม่ออก
แต่เขาบอกว่า จงใช้ข้อมูลในตารางหาอัตรา
ที่คนรอในแถวว่าเปลี่ยนไปเท่าไหร่
ตอน 5.30 นาฬิกา
เขาไม่ได้บอกข้อมูลตอน 5:30 นาฬิกา
เขาบอกเราตอน 4:00 นาฬิกา แล้วก็ 7:00 นาฬิกา, หรือ t เท่ากับ 5.5
จงแสดงการคำนวณที่ให้คำตอบคุณมา
จงระบุหน่วยการวัดด้วย
แล้วเขาอยากรู้อะไร?
เขาอยากรู้ค่าประมาณอัตราที่
จำนวนคนในแถวเปลี่ยนไป
แล้วเขาไม่ได้กำหนดฟังก์ชันต่อเนื่องให้เรามา
เขาให้แค่ตัวอย่างจุดของ
ฟังก์ชัน L ของ t นี้
ดังนั้นค่าประมาณที่ดีที่ผมหาได้, อัตราที่ L ของ
t นี่เปลี่ยนแปลงที่เวลา 5.5 -- และ 5.5 อยู่ระหว่างสองตัวนี้ --
ผมก็แค่หาอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย
ระหว่าง 4 นี่กับ 7 นี่
แล้วเราจะหามันได้อย่างไร?
อัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยก็แค่ความชัน
ลองเขียนมันดู
-
เราก็เขียนอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย หรือเดลต้า
L ส่วนเดลต้า t ที่ 5.5
คุณสามารถเขียนมันยังไงก็ได้, ตามแต่คุณจะคิด
ว่าคนตรวจอยากเห็นแบบไหนมากที่สุด
เราบอกว่า ที่ เวลา 5.5
เราบอกว่ามันประมาณเท่ากับ, อะไรก็ช่าง
แต่มันจะเท่ากับความชันระหว่างจุดสองจุดนี้
นั่นก็คือ L ของ 7 ลบ L ของ 4, ทั้งหมดนั่นส่วน 7 ลบ 4
ขึ้นส่วนขวาง หรือการเปลี่ยนแปลงของค่าฟังก์ชัน
หารด้วยการเปลี่ยนแปลงของค่าตัวแปรอิสระ
L ของ 7 คือ 154
เขาให้เรามา
L ของ 4 คือ 126
เราหารมันด้วย 7 ลบ 4
นั่นก็เท่ากับ 54 ลบ 126 บวก 26 ได้ 50
มันจึงเท่ากับ 28
-
ใช่แล้ว, ถ้านี่น้อยกว่าอยู่ 2, มันจะเป็น 30
และ 7 ลบ 4 คือ 3
คุณจึงบอกได้ว่า อัตราการ
เปลี่ยนแปลงเฉลี่ย คือ 28 ส่วน 3
หรือคุณเขียนมันได้ว่า 9 1/3
แล้วเขาอยากให้เราระบุหน่่วยที่ใช้
ระบุหน่วยการวัด
ตัวเศษ, นี่คือคน
-
แล้วตัวส่วนล่ะ?
มันคือชั่วโมง, คนต่อชั่วโมง
ดังนั้นค่าประมาณที่ดีที่สุด, หรือค่าประมาณที่ดีที่สุดของอัตรา
ที่คนรอในแถวเปลี่ยนไป ตอน
5:30 นาฬิกา, อยู่ระหว่างสองจุดนี้, คือความชัน
เฉลี่ยระหว่างสองจุดนี้
ซึ่งก็คือ 9 1/3 คนต่อชั่วโมง
แค่นั้นแหละ
ลองทำตอน b กัน
ขอผมลบพวกนี้ทั้งหมดนะ เราจะได้มีที่พอสำหรับตอน b
ผมจะลอกลงไป ไม่รู้ว่าคุณจะอ่านมันได้หรือเปล่า
บางทีคุณอาจอ่านได้นะ
มันไม่ผิดที่จะลอกแล้ววางดู
-
โอเค ตอน b บอกว่า, จงใช้การรวมสี่เหลี่ยมคางหมู
จากช่วงย่อย 3 ช่วงนี้
บางทีผมควรทำให้มันใหญ่หน่อย
ขอผมดูหน่อยว่าจะขยายมันได้ไหม
ผมไม่อยากให้มันกินที่หมด
ไม่ มันดูไม่ดีเลย
-
โอเค เอาล่ะ ผมจะอาจมันออกมาเผื่อคุณมองไม่เห็น
จงใช้ผลบวกสี่เหลี่ยมคางหมู กับช่วงย่อย 3 อันนี้ เพื่อ
ประมาณจำนวนคนที่รอในแถว
ใน 4 ชั่วโมงแรกที่ขายตั๋วโดยเฉลี่ย
ถ้าคุณทำเร็วๆ, คุณไม่ต้องวาดกราฟ
ก็ได้
แต่ผมจะวาดกฟรามัน เพราะผมอยากให้คุณ
เข้าใจวิธีทำโจทย์นี้
ถ้าคุณเข้าใจมัน, คุณไม่ต้องวาดกราฟก็ได้
ลองวาดกราฟจุดพวกนี้ดู
เราแค่ต้องทำ 4 ชั่วโมงแรก
ที่จริง ขอผมวาดหมดเลยดีกว่า, เพราะ
มันอาจมีประโยชน์ในตอนที่เหลือของโจทย์
ถ้าคุณไม่วาดกราฟมันตอนบันทึกวิดีโอ, มัน
อาจเร็วกว่าหน่อย
-
นั่นน่าจะดีพอนะ
-
แล้วจุดข้อมูลเรามีอะไรบ้าง?
เรามี 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9
คุณไม่ต้องทำเนี๊ยบนักก็ได้
ทีนี้ คุณอาจต้องทำดีๆ เวลาอยู่ในห้องสอบ,
เพราะไม่อย่างนั้น คุณอาจงงเอง
ลองดูัน, ค่า L ของผมสูงเท่าไหร่บ้าง?
นี่คือ เวลา ตรงนี้
นี่คือแกน L ของ t
มันขึ้นไปประมาณ, 176 คือค่าสูงสุด, อย่างน้อย
ก็จากข้อมูลที่รามี
สมมุติว่านี่คือ 200
ครึ่งหนึ่งก็คือ 100
นี่คือ 150
นี่ก็คือ 50
ผมไม่รู้ว่าเสียงนั้นมาจากไหน
แต่ทำต่อไปดีกว่า
ลองพลอตจุดกัน
ที่ t เท่ากับ 0 มีคนในแถว 120 คน
มันอยู่ตรงนี้
นั่นคือ t เท่ากับ 1, 156
ผมแค่ประมาณ
มันอยู่ตรงนี้
ที่ t เท่ากับ 3 -- เขาข้าม 2 ไป -- ที่ t เท่ากับ 3 มี
คนอยู่ 176 คนในแถว
นั่นก็จะอยู่แถวนี้,
แค่คร่าวๆ นะ
ที่ t เท่ากับ 4, เรามีคนในแถว 126 คน
มันมากกว่าตอน t เท่ากับ 0 หน่อย
ที่ t เท่ากับ 7, เรามีคนในแถว 150 คน
ประมาณแถวนี้
ที่ t เท่ากับ 8 เรามี 80
มันอยู่แถวนี้
และ t เท่ากับ 9, แถวหมดแล้ว
ทุกคนได้ตั๋วหมด, หรือบางที
เขาขายตั๋วหมดแล้ว
ลองต่อจุดพวกนั้นดู
ลากเส้นต่อจุด
จากนี่ถึงนี่
และจากนั่นถึงนั่น
ตรงนั้นถึงตรงนั้น
ตรงโน้นถึงตรงโน้น, ใกล้เสร็จแล้ว
โอเค, อย่างน้อยเราได้พลอดจุดตัวอย่างพวกนั้น
และลากเส้นเชื่อมจุดไป
เรารู้ว่า L ของ t จริงๆ, อะไรที่เราจะประมาณ,
มันจะไม่มีขอบอย่างนี้ เพราะ
ฟังก์ชันหาอนุพันธ์ได้
ที่จริงมันหาอนุพันธ์ได้สองครั้ง
มันจะเป็นเส้นโค้งที่เรียบกว่านี้, จริงไหม?
เพราะเราหาอนุพันธ์ที่จุดใดๆ ได้
ถ้านี่คือฟังก์ชันจริง, คุณไม่มีทาง
หาอนุพันธ์ที่จุดนี้ได้
เพราะมันมีความชันเป็นบวกตรงนี้ แล้วมัน
ก็เปลี่ยนความเป็นลบตรงนี้ในทันใด เหมือนกับ
ฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์
คุณจึงไม่สามารถหาอนุพันธ์
ตรงจุดนั้นได้
แต่เอาล่ะ กลับมาที่โจทย์
จงใช้ผลบวกจากช่วงย่อย 3 อันเพื่ประมาณ
จำนวนคนที่รอในแถว ตลอด
4 ชั่วโมงแรก
4 ชั่วโมงแรก, นั่นคือตรงนี้
ทีนี้, มันอาจดูน่าท้อใจ
ผลบวกสี่เหลี่ยมคางหมูถึงชั่วโมงที่ 4
ผมเพิ่งรู้ตัว
ว่าด้วยเหตุผลบางอย่าง, ยูทูปเคยให้ผมทำวิดีโอยาวขึ้น
เพราะผมว่าผมกลายเป็นผู้ร่วมมือไปแล้ว
แต่ไม่รู้เพราะอะไร, เขาจำกัดเวลาผมอีกแล้ว
ผมจึงจะมาต่อตอน b ในวิดีโอหน้าแล้วกัน
แล้วพบกันครับ
-